จำหน่ายผนังสำเร็จรูป + บริการต่อเติมบ้าน บ้านน๊อคดาวน์ ติดตั้ง ออกแบบ บ้านสำเร็จรูป sandwich panel

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การขออนุญาตก่อสร้างตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร

   การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติมอาคาร ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง

สำหรับบ้านพักอาศัยชั้นเดียว
หลักฐาน
•  คำร้องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง ข. 1
•  สำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจรอง จำนวน 1 ฉบับ
•  แบบแปลนพร้อมผังบริเวณ จำนวน 2 ชุด

สำหรับบ้านพักอาศัย 2 ชั้น (พื้นที่ไม่เกิน 150 ตารางเซนติเมตร)
หลักฐาน
•  คำร้องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง ข. 1
•  สำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจรอง จำนวน 1 ฉบับ
•  แบบแปลนพร้อมผังบริเวณ จำนวน 2 ชุด

สำหรับบ้านพักอาศัย 2 ชั้น (พื้นที่เกิน 150 ตารางเซนติเมตร)
หลักฐาน
•  คำร้องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง ข. 1
•  สำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจรอง จำนวน 1 ฉบับ
•  แบบแปลนพร้อมผังบริเวณ จำนวน 2 ชุด
•  หนังสือรับรองการคำนวณโครงสร้างอาคารของวิศวกรพร้อมทั้งสำเนาบัตรวิศวกร
•  หนังสือแสดงความยินยอมการเป็นผู้ควบคุมงาน (น. 4 ) พร้อมทั้งสำเนาบัตรวิศวกร

สำหรับห้องแถวอาคารพาณิชย์อาคารควบคุมการใช้พิเศษ / อาคารขนาดใหญ่
•  คำร้องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง ข. 1
•  สำเนาบัตรบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
•  สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจรอง จำนวน 1 ฉบับ
•  แบบแปลนพร้อมผังบริเวณ จำนวน 2 ชุด
•  หนังสือรับรองการคำนวณโครงสร้างอาคารของวิศวกรพร้อมทั้งสำเนาบัตรวิศวกร
•  หนังสือแสดงความยินยอมการเป็นผู้ควบคุมงาน (น. 4 ) พร้อมทั้งสำเนาบัตรวิศวกร
•  หนังสือรับรองการออกแบบของสถาปนิกพร้อมสำเนาบัตร
*** หมายเหตุ ในกรณีก่อสร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่นต้องได้รับความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน

ระยะเวลาในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร
ในกรณีที่เอกสารแบบแปลน ถูกต้องครบถ้วน
•  อาคารพักอาศัยทั่วๆ ไป ป้าย ใช้เวลาไม่เกิน 20 วัน
•  อาคาพาณิชย์ อาคารควบคุมการใช้ โรงงานโกดังเก็บของ อาคารขนาดใหญ่ ใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน

ขอบคุณสำหรับข้อมูล http://www.btl.go.th/
0

รู้ไว้ สักนิด...พรบ ควบคุมอาคาร


กฎกระทรางบังคับใช้แล้ว
-มาตรา 21 ทวิ การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้าย
อาคารชนิดหรือประเภทที่กฎกระทรวงก าหนดให้มีการ
ตรวจสอบงานออกแบบและค านวณส่วนต่าง ๆ ของ
โครงสร้างอาคาร ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งตามมาตรา
39 ทวิ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบงานออกแบบและค านวณ
ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ก าหนด ใน
กฎกระทรวง


1.ตามมาตรา 39 ทวิได้บัญญัติว่าผู้ใดจะก่อสร้างฯลฯ อาคารโดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ได้ โดยการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรา 39 ทวิวรรคหนึ่ง กล่าวคือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสารตามที่กำหนดใน มาตรา 39 ทวิ วรรคหนึ่ง และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลน เมื่อดำเนินการครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งภายในวันที่ได้รับแจ้งดังกล่าวแต่หากอาคารที่จะก่อสร้างเป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่จะต้องขออนุญาตหรือดำเนินการตามกฎหมายอื่นก่อนที่จะยื่นขออนุญาตหรือแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารซึ่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นก่อนที่จะแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 39 ทวิ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่บัญญัติให้อาคารที่เข้าข่ายต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสียก่อน จึงจะพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายอื่นต่อไปได้ กรณีที่เจ้าของอาคาร ยื่นแจ้งตาม มาตรา39 ทวิ แล้ว และหากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบพบภายหลังว่า หลักฐานหรือเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายอื่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 39 ตรี คือมีหนังสือแจ้งข้อทักท้วงให้ผู้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิทราบโดยเร็วและดำเนินการตาม มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 หรือมาตรา 43 แล้วแต่กรณี

2.มาตรา 21 ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับ ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยขั้นตอนระยะเวลาในการตรวจพิจารณาแบบแปลนก่อสร้างของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะเป็นไปตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังต่อไปนี้

" มาตรา 25 ในกรณีที่เป็นการยื่นคำขอรับใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจ พิจารณาและออกใบอนุญาตหรือ มีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ทราบภายในสี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่ง ไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินสี่สิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละคราวให้ ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาได้นั้น แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า “

 ระยะร่นจากถนนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 41

 ขอ 41 อาคารที่กอสรางหรือดัดแปลงใกลถนนสาธารณะที่มีความกวางนอยกวา 6เมตรใหรนแนว
อาคารหางจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอยางนอย 3เมตร
อาคารที่สูงเกินสองชั้นหรือเกิน 8เมตร หองแถว ตึกแถว บานแถว อาคารพาณิชยโรงงาน อาคาร
สาธารณะ ปายหรือสิ่งที่สรางขึ้นสําหรับติดหรือตั้งปาย หรือคลังสินคา ที่กอสรางหรือดัดแปลงใกลถนน
สาธารณะ
(1)ถาถนนสาธารณะนั้นมีความกวางนอยกวา 10เมตร ใหรนแนวอาคารหางจากกึ่งกลางถนน
สาธารณะอยางนอย 6เมตร
(2)ถาถนนสาธารณะนั้นมีความกวางตั้งแต 10เมตรขึ้นไป แตไมเกิน 20 เมตร ใหรนแนวอาคาร
หางจากเขตถนนสาธารณะอยางนอย 1ใน 10ของความกวางของถนนสาธารณะ
(3)ถาถนนสาธารณะนั้นมีความกวางเกิน 20 เมตรขึ้นไป ใหรนแนวอาคารหางจากเขตถนน
สาธารณะอยางนอย 2เมตร

ระยะร่นจากแหล่งน้ำสาธารณะตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 42


ขอ 42 อาคารที่กอสรางหรือดัดแปลงใกลแหลงน้ําสาธารณะ เชน แมน้ํา คู คลอง ลําราง หรือ
ลํากระโดง ถาแหลงน้ําสาธารณะนั้นมีความกวางนอยกวา 10เมตร ตองรนแนวอาคารใหหางจากเขตแหลงน้ําสาธารณะนั้นไมนอยกวา 3 เมตร 
แตถาแหลงน้ําสาธารณะนั้นมีความกวางตั้งแต 10เมตรขึ้นไป ตองรนแนวอาคารใหหางจากเขตแหลงน้ําสาธารณะนั้นไมนอยกวา 6เมตร
สําหรับอาคารที่กอสรางหรือดัดแปลงใกลแหลงน้ําสาธารณะขนาดใหญเชนบึง ทะเลสาบ หรือ
ทะเลตองรนแนวอาคารใหหางจากเขตแหลงน้ําสาธารณะนั้นไมนอยกวา 12เมตร

ทั้งนี้เวนแต สะพาน เขื่อน รั้ว ทอระบายน้ํา ทาเรือ ปาย อูเรือ คานเรือ หรือที่วางที่ใชเปนที่จอดรถ
ไมตองรนแนวอาคาร


 ระยะร่นด้านติดที่ดินบุคคลอื่นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 50


ขอ 50 ผนังของอาคารที่มีหนาตาง ประตู ชองระบายอากาศหรือชองแสง หรือระเบียงของอาคาร
ตองมีระยะหางจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
(1)อาคารที่มีความสูงไมเกิน 9เมตร ผนังหรือระเบียบตองอยูหางเขตที่ดินไมนอยกวา 2เมตร
(2)อาคารที่มีความสูงเกิน 9เมตร แตไมถึง 23เมตร ผนังหรือระเบียงตองอยูหางเขตที่ดินไมนอย
กวา 3เมตร
         ผนังของอาคารที่อยูหางเขตที่ดินนอยกวาตามที่กําหนดไวใน (1)หรือ (2)ตองอยูหางจากเขตที่ดิน
ไมนอยกวา 50เซนติเมตร
เวนแตจะกอสรางชิดเขตที่ดินและอาคารดังกลาวจะกอสรางไดสูงไมเกิน 15 เมตร
 ผนังของอาคารที่อยูชิดเขตที่ดินหรือหางจากเขตที่ดินนอยกวาที่ระบุไวใน (1)หรือ (2)ตองกอสรางเปนผนังทึบ และดาดฟาของอาคารดานนั้นใหทําผนังทึบสูงจากดาดฟาไมนอยกวา1.80เมตร
 ในกรณีกอสรางชิดเขตที่ดินตองไดรับความยินยอมเปนหนังสือจากเจาของที่ดินขางเคียงดานนั้นดวย
0

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กฎหลัก ในการต่อเติมบ้าน อาคาร

     สิ่งที่ควรรู้

1. ประเด็นด้านกฏหมายในการต่อเติมบ้านใหม่
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ
-การขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตร.ม.
-เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
-เพิ่ม-ลด จำนวน หรือ เปลี่ยนเสา คาร บันได และผนัง

อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
-สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ
-ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิด 9 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับ ที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง

จะเห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง

2.ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง

จากประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย

3.การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม

 ข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์

1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม

โดยทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้

2. รูปแบบทางด้านโครงสร้างบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านใหม่

หลักการในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ

ข้อมูลจาก : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
0

..ก่อนสร้างบ้านต้องทำอย่างไร?.. ไม่ให้บานปลาย..

              ..ก่อนสร้างบ้านต้องทำอย่างไร?.. ไม่ให้บานปลาย..

    ทุกวันนี้พวกเรามีค่าใช้จ่ายในบ้านมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าภาษี ค่าประกัน ฯลฯ ยิ่งค่าไฟเดี๋ยวนี้แพงขึ้นทุกวัน ยิ่งในช่วงหน้าร้อนอาจจะต้องจ่ายเป็นสองเท่าของหน้าหนาว เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน เราจึงควรออกแบบบ้านให้เย็นโปร่งโล่งสบายและป้องกันความร้อนให้เหมาะกับภูมิอากาศเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเปลืองค่าแอร์มากในแต่ละเดือน

    คนที่ปลูกสร้างบ้านเองมักมีปัญหายุ่งยากชวนให้ปวดหัว เพราะนับแต่เริ่มสร้างบ้านก็เริ่มเกิดปัญหาเป็นทุกข์ตั้งแต่เริ่มหาคนเขียน แบบบ้าน หาผู้รับจ้าง หาคนคุมงานที่ไว้ใจได้ เมื่อเริ่มทำการก่อสร้างก็มีปัญหาการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างเพราะเปลี่ยนแปลงความต้องการในการใช้งาน มีปัญหากับเพื่อนบ้านข้างเคียง ท้ายที่สุดการก่อสร้างบานปลายเสียทั้งเงินและเวลา 

     แต่จริงๆ แล้วการสร้างบ้านของตนเองนี้ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการก่อสร้างทั้งหมดก็ได้ ขอเพียงทราบรายละเอียดหลักๆ ที่จะทำให้ได้บ้านที่ทั้งสวยและมั่นคงปลอดภัยก็น่าจะพอแล้ว

     ขั้นตอนแรก
     สร้างแบบบ้านโดยให้สถาปนิกออกแบบหรือซื้อแบบบ้านสำเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไป ราคาค่าออกแบบบ้าน ราคาประมาณ 3-5% ของราคาค่าก่อสร้าง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของสถาปนิก วิศวกรโครงสร้างหรือวิศวกรงานระบบผู้เขียนแบบ และค่าพิมพ์แบบ

     ขั้นตอนที่สอง
  ขออนุญาติจากทางเทศบาล กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด
หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง
สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน

        จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาลซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ ภายใน 45 วัน ต้องได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาตหรือ ไม่ ถ้าไม่อนุญาตจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขแล้วก็ควรจะได้รับอนุญาต และเสียค่าธรรมเนียมตารางเมตรละไม่เกิน 4 บาท

         ขั้นตอนที่สาม
   หาผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวชี้ว่าท่านจะได้บ้านตามต้องการหรือไม่ การคัดเลือกผู้รับเหมาควรที่จะพิจารณาหลายด้าน ไม่ใช่เพียงผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่านั้น เนื่องจากราคาต่ำสุดอาจจะเป็นเพราะคิดราคาผิด หรือต้องการงานมากจึงใช้การตัดราคาเพื่อให้ได้งาน และเมื่อทำงานไปแล้วก็จะมีปัญหาในระหว่างการทำงานได้ เช่น การเปลี่ยนขนาดหรือคุณภาพของวัสดุ ที่ไม่ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ 

ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน โดยทั่วไป แบ่งออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้คือ
   ขั้นตอนที่ 1 ตอกเข็มหล่อฐานราก คานคอดิน และ ตั้งเสาชั้นล่าง
   ขั้นตอนที่ 2 หล่อคานชั้นบน และเสาสำหรับรับหลังคาชั้น 2
   ขั้นตอนที่ 3 มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้ง วงกบ ใส่ฝ้าเพดาน
   ขั้นตอนที่ 4 ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติดตั้งระบบท่อน้ำ
   ขั้นตอนที่ 5 บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งดวงโคม เก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย

     การสร้างบ้านนั้นมีขั้นตอนค่อนข้างละเอียด ดังนั้นผู้ที่จะทำการสร้างบ้านควรให้เวลาศึกษาข้อมูลดีๆ เพื่อที่จะได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลา และพยายามเข้าไปตรวจสอบวัสดุ การออกแบบในแต่ละขั้นตอน  
0

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ต่อเติม สร้างบ้าน


จำหน่ายผนังสำเร็จรูป + บริการต่อเติมบ้าน บ้านน๊อคดาวน์ ติดตั้ง ออกแบบ ออฟฟิศน็อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป สำนักงานเคลื่อนที่ สร้างสำนักงานชั่วคราว ร้านค้า ร้านกาแฟ บ้านพัก 




บริการต่อเติมบ้าน บ้านน๊อคดาวน์ ออฟฟิศน็อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป สำนักงานเคลื่อนที่ สร้างสำนักงานชั่วคราว ร้านค้า ร้านกาแฟ บ้านพัก โกดัง โรงงาน ผนังเย็นน้ำหนักเบา ถอดประกอบได้ จำหน่ายผนัง sandwich panel ผ้าม่านมู่ลี่ฉากกั้น

สนใจติดต่อ คุณ ณธัชพงศ์  คุณณรงค์ชัย

086-3354919 , 088-5856365 , 02963115 , 0942524329

เว็บ  http://www.jigsawsupply.com
อีเมล์ :chasomram@gmail.com, lekjigsaw@gmail.com
line ID : jigsawsupply

หรือติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/Jigsaw-237648823040157/?ref=hl
                           https://www.facebook.com/jigsawsupply



0